สอบสวน

สถานการณ์โควิด-19 ระยอง ดีขึ้น วันนี้ติดเชื้อเพิ่มเพียง 1 ราย รวมเสียชีวิตสะสม 7 ราย ยอดสะสม 930 ราย

เมื่อวันที่ 28 พ.ค.64 ศูนย์ปฏิบัติการฯโควิด-19 ระยอง โดยนายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ของจังหวัดระยองว่า วันนี้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 1 ราย เสียชีวิตสะสม 7 ราย ผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย.- 28 พ.ค.64 จำนวน 930 ราย รักษาหายแล้ว 751 ราย มีการค้นหาเชิงรุก 37,385 ราย มีกลุ่มที่ได้รับการกักตัวใน LQ และ HQ จำนวน 1,514 ราย

0715e0&s=1328274-846020″ border=”0″>

โดยผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่พบ 1 รายอยู่ใน ต.มาบยางพร อ.ปลวกแดง โดยความเชื่อมโยงของผู้ป่วยรายใหม่ดังกล่าว มีความเชื่อมโยงกับผู้ติดเชื้อรายก่อนหน้านี้ บุคคลในครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน ทั้งนี้จังหวัดระยอง มีการฉีดวัคซีนต้านโควิดให้ประชาชนในพื้นที่แล้ว จำนวน 33,428 ราย และประชาสัมพันธ์ให้ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป และผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง ลงทะเบียนรับการฉีดวัคซีนเริ่ม 1 พ.ค.นี้ เริ่มฉีด 7 มิ.ย.และเชิญชวนให้ประชาชนทั่วไป อายุ 18-59 ปี เริ่มลงทะเบียน 31 พ.ค.นี้ เริ่มฉีด ส.ค.นี้.

วฐิต กลางนอก / จิรัฏฐ์นนท์ ฐิตะสิริ ระยอง

ระยอง พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่วันนี้ 12 ราย ยอดสะสม 855 ราย

ระยอง พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่วันนี้ 12 ราย ยอดสะสม 855 ราย

เมื่อวันที่ 20 พ.ค.64 ศูนย์ปฏิบัติการฯโควิด-19 ระยอง โดยนายชาญนะ เอี่ยมแสง ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ของจังหวัดระยองว่า วันนี้พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 12 ราย เสียชีวิต 7 ราย ผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 8 เม.ย.- 20 พ.ค.64 จำนวน 855 ราย รักษาหายแล้ว 591ราย มีการค้นหาเชิงรุก 32,633 ราย มีกลุ่มที่ได้รับการกักตัวใน LQ และ HQ จำนวน 1,567 ราย พื้นที่ที่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 4 อำเภอ มี อ.เมืองระยอง 8 ราย อ.บ้านค่าย 2 ราย อ.ปลวกแดง 1 ราย และ อ.บ้านฉาง 1 ราย โดยความเชื่อมโยงของผู้ป่วยรายใหม่วันนี้ มีความเชื่อมโยงกับผู้ติดเชื้อรายก่อนหน้านี้ บุคคลในครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน

ทั้งนี้ผู้ที่ไปในสถานที่เสี่ยง หรือสัมผัสใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ ให้ไปรับการตรวจคัดกรองกับรถตรวจชีวนิภัยพระราชทานได้ที่ตลาดเนินอุไร สวนศรีเมือง อ.เมืองระยอง.

วฐิต กลางนอก / จิรัฏฐ์นนท์ ฐิตะสิริ ระยอง

จีซี (GC) จับมือ บีไอจี (BIG) มอบออกซิเจนทางการแพทย์ช่วยเหลือวิกฤตโควิดระลอกใหม่

บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด (บีไอจี : BIG) ในฐานะผู้นำนวัตกรรมก๊าซอุตสาหกรรมของประเทศไทย ร่วมกับ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) (จีซี : GC) ผู้นำในธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อสร้างสรรค์คุณภาพชีวิต สนับสนุนออกซิเจนทางการแพทย์ให้กับ 5 โรงพยาบาลทั้งกรุงเทพและเขตภาคตะวันออก เพื่อดูแลผู้ป่วยติดเชื้อและผู้ป่วยหนักในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่

นายปฏิภาณ สุคนธมาน   ผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “จากสถานการณ์ดังกล่าว ทั้ง จีซี (GC) และ บีไอจี (BIG) ตระหนักถึงแนวโน้มของสถานการณ์ที่อาจจะเพิ่มภาระการรักษาพยาบาลมากยิ่งขึ้น ทั้งจากจำนวนผู้ป่วยใหม่ที่ต้องเข้ารักษาในสถานพยาบาลทั่วประเทศที่เพิ่มมากขึ้น GC ได้ตัดสินใจสนับสนุนในกระบวนการผลิตออกซิเจนทางการแพทย์ในทันที การร่วมมือของสองบริษัทพันธมิตรในครั้งนี้ เพื่อส่งมอบออกซิเจนทางการแพทย์ให้กับโรงพยาบาลทั้งในพื้นที่จังหวัดระยองซึ่งเปรียบเสมือนบ้านอีกหลังของ GC และในพื้นที่กรุงเทพฯ รวมทั้งสิ้น 5 โรงพยาบาล จำนวนกว่า 360 ตัน เฉลี่ยแล้วสามารถนำออกซิเจนนี้มาดูแลผู้ป่วยวิกฤติได้มากกว่า 400 เตียง”

นายปิยบุตร จารุเพ็ญ กรรมการผู้จัดการ บริษัท บางกอกอินดัสเทรียลแก๊ส จำกัด กล่าวเสริมว่า “บีไอจี (BIG) เป็นผู้ผลิตและให้บริการออกซิเจนทางการแพทย์กับโรงพยาบาลในประเทศไทย เตรียมพร้อมรับสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 บีไอจีได้ Restart โรงแยกอากาศ (Air Separation Unit : ASU) โรงงาน 1 เพื่อเดินเครื่องผลิตและรองรับความต้องการออกซิเจนได้อีก 30% จากความต้องการในปัจจุบัน และในการนี้ได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จาก จีซี (GC)  เพื่อส่งมอบออกซิเจนทางการแพทย์ ความบริสุทธ์ 99% ตามมาตรฐานมอก.”

โดยทั้ง 5 โรงพยาบาลที่ทั้งสองพันธมิตรให้การสนับสนุนออกซิเจนเหลวทางการแพทย์จำนวน 360 ตัน เฉลี่ยแล้วสามารถนำออกซิเจนนี้มาดูแลผู้ป่วยวิกฤติได้มากกว่า 400 เตียงในครั้งนี้ รวมมูลค่ากว่า 10,000,000 บาท ได้แก่

  1. โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ จ.ชลบุรี
  2. โรงพยาบาลแกลง จ.ระยอง
  3. โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จ.ระยอง
  4. โรงพยาบาลเลิดสิน จ.กรุงเทพมหานคร
  5. โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จ.กรุงเทพมหานคร

จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้ทวีความรุนแรงขึ้น ทั้งจีซี (GC) และบีไอจี (BIG) ตระหนักถึงความสำคัญและพร้อมที่จะเป็นหน่วยสนับสนุนออกซิเจนทางการแพทย์เพื่อนำไปดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 และขอเป็นกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ให้สามารถปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มศักยภาพในการยับยั้งการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส   โควิด-19

#GCChemistryforBetterLiving
#GCเคมีที่เข้าถึงทุกความสุข

#BIGRestartOxygen_RestartThailand
#BIGInfiniteInnovation

จิรัฏฐ์นนท์ ฐิตะสิริ ระยอง

“ชุมชนเข้มแข็ง” ได้ เมื่อเราผสานพลัง

ภูมิปัญญาชาวบ้านและอัตลักษณ์ท้องถิ่น คือ สิ่งพิเศษที่มีเฉพาะตัวตน หรือ เฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งเมื่อได้เรียนรู้แล้วก็จะพบว่าเป็นเรื่องที่น่าสนใจ ยิ่งหากนำความเฉพาะในท้องถิ่นนั้นๆ มาพัฒนาต่อยอดผสานกับนวัตกรรม วิถีชีวิตรูปแบบใหม่ รวมถึงระบบการบริหารจัดการต่าง ๆ ก็ยิ่งสร้างพลังให้เกิดความเข้มแข็งได้อย่างดีเยี่ยม และนั่นคือสิ่งที่ GC หรือ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) มองเห็น และเกิดเป็นแนวคิด “ชุมชนเข้มแข็ง” ที่ต้องการเดินหน้าทำให้ชุมชนนั้นสามารถพึ่งพาตัวเองได้ สร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชน และขยายผลให้ชุมชนในภาพรวมได้ประโยชน์สูงที่สุดอย่างยั่งยืน โดยเราสามารถเชื่อมโยงมิติการส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้ดังนี้

มิติเศรษฐกิจ ด้านการสร้างงาน สร้างรายได้ให้ชุมชนนั้นสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน ยกตัวอย่างของการสนับสนุนการพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรอินทรีย์กลุ่มหอมมะหาด ผู้ปลูกพืชสมุนไพรพื้นถิ่นระยอง ให้นำผลผลิตมาพัฒนาต่อยอดด้วยการแปรรูปวัตถุดิบสมุนไพรโดยวิสาหกิจชุมชนกลุ่มลุฟฟาลา ชุมชนหนองแฟบ ให้เป็นผลิตภัณฑ์ความงามจากธรรมชาติ เพื่อสุขอนามัยและสุขภาพผิวที่ดี LUFFALA สู่มาตรฐานระดับสากล ผ่าน “โครงการ Rayong Organic Living” และการพัฒนาปรับปรุง “ศูนย์การเรียนรู้อาหารถิ่นระยอง ร้านใบชะมวง ภายใต้โครงการเชฟชุมชนชวนกินถิ่นระยอง (ฮิ)” เพื่อให้เป็นศูนย์ฝึกประสบการณ์วิชาชีพและการทำธุรกิจร้านอาหารให้กับนักศึกษาแผนกอาหารและโภชนาการ คณะคหกรรมศาสตร์ วิทยาลัยเทคนิคระยอง เพื่อให้สามารถไปเป็นผู้ประกอบการเองได้ เป็นการสร้างสรรค์คุณภาพชีวิตและกระจายรายได้สู่ชุมชนผู้ผลิตวัตถุดิบของดีในจังหวัดระยอง ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร หรือชาวประมง ทั้งยังเป็นการพัฒนากำลังคนอาชีวศึกษา เพื่อรองรับนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC)  ซึ่งมีเป้าหมายพัฒนาอุตสาหกรรมด้านการท่องเที่ยวและการแปรรูปอาหาร   

มิติสังคม ด้านการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร ฉายภาพไปที่ชุมชนวัดชากลูกหญ้า ซึ่งมีการบริหารจัดการขยะที่ดีภายในชุมชน และ GC เห็นโอกาสที่จะช่วยเพิ่มศักยภาพในการบริหารจัดการขยะได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย มีการนำระบบ YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม ซึ่งเป็นระบบจัดการพลาสติกใช้แล้วแบบครบวงจร ตั้งแต่การรวบรวม การคัดแยกขยะ การขนส่งขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบกระบวนการรีไซเคิล และกระบวนการแปรรูปจนได้กลับมาเป็นสินค้าอัพไซคลิง เข้ามาช่วยพัฒนาการบริหารจัดการขยะของชุมชน GC ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ ทั้งเรื่องการคัดแยก การบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธี จนทำให้วันนี้มีการตั้งเป็น “ศูนย์บริหารและจัดการขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า” ซึ่งกลายเป็นต้นแบบการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจรแห่งแรกของจังหวัดระยองที่ชาวชุมชนวัดชากลูกหญ้าภูมิใจ

และสุดท้าย มิติสิ่งแวดล้อม ด้านการดูแลรักษาระบบนิเวศและความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยการเข้าไปช่วยร่วมพัฒนาและต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่นด้วยนวัตกรรมจากผู้เชี่ยวชาญ GC และเทศบาลเมืองมาบตาพุด จึงได้ร่วมมือกับศูนย์วิศวกรรมสารสนเทศภูมิศาสตร์และนวัตกรรม (KGeo) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) นำระบบเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงฤดูฝนและขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง ทำให้การปลูกมะม่วงพื้นทรายของเกษตรกรที่ทำมากว่า 50 ปี สามารถคงคุณภาพความอร่อยของผลผลิตตลอดฤดูกาล การันตีด้วยรางวัลรองชนะเลิศ ประเภทมะม่วงผลดิบ “เขียวเสวย” จากการประกวดผลไม้งานเกษตรแห่งชาติ (เกษตรแฟร์) ประจำปี 2563 รวมถึงการพัฒนาช่องทางการขาย Online โดยสร้าง Line Official: “Map Ta Phut Mango” พร้อมเสริมทักษะการขายให้กับเกษตรกร เพื่อให้สวนมะม่วงสามารถจำหน่ายผลผลิตให้ลูกค้าแบบ Pre-Order ได้ รวมถึงช่วยวางระบบบริหารการขนส่ง เพื่อให้สวนสามารถขายผลผลิตได้ทั่วประเทศ (แอบกระซิบว่ามะม่วงอร่อย ๆ มีอีกไม่มากแล้ว รีบจองกันก่อนจะหมดฤดูกาลในเร็วๆ นี้) 

GC และพันธมิตรภูมิใจทีได้เป็นพลังเสริมให้ทุกชุมชนพัฒนาไปสู่การเป็น “ชุมชนเข้มแข็ง” ที่สร้างรายได้กลับคืนสู่ชุมชนและสามารถพึ่งพาตัวเองได้อย่างยั่งยืน

จิรัฏฐ์นนท์ ฐิตะสิริ ระยอง

———————————————–

#ชุมชนเข้มแข็ง

#เคมีเดียวกันสร้างสรรค์ทุกความสุข

#GCCircularLiving

#ChemistryforBetterLiving

ศูนย์บริหารและจัดการขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า ต้นแบบการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจรแห่งแรกของจังหวัดระยอง



 

นิยามของคำว่า “ชุมชน” นั้น อาจสื่อได้ถึง ความร่วมแรงร่วมใจ ความสมานฉันท์ ที่ผู้อยู่อาศัยร่วมกันในชุมชนนั้น ได้ช่วยกันบริหารจัดการ เพื่อให้ชุมชนนั้น ๆ เป็นชุมชนที่น่าอยู่ ชุมชนที่เราจะพาทุกคนเดินทางไปค้นหาความหมายเพิ่มเติมกันในวันนี้ เป็นชุมชนเล็ก ๆ ในประเทศของเราแต่ยิ่งใหญ่ หรือเรียกว่าเป็นต้นแบบด้านการบริหารจัดการขยะแห่งแรกของจังหวัดระยองก็ว่าได้ ชุมชนนี้ คือ “ชุมชนวัดชากลูกหญ้า” แล้วอะไรที่ทำให้ชุมชนแห่งนี้พร้อมใจกันหันมาสนใจเรื่องนี้และเริ่มต้นบริหารจัดการขยะ เราไปค้นหาคำตอบพร้อม ๆ กันเลย



 “ชุมชนวัดชากลูกหญ้า” ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง ชุมชนนี้เป็นชุมชนกึ่งเมือง มีปริมาณขยะมูลฝอย ถึงประมาณ 8.2 ตันต่อวัน พี่เปิ้ล นภาพัฒน์ อู่เจริญ ประธานวิสาหกิจชุมชนธนาคารคัดแยกขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า เล่าให้เราฟังว่า “จุดเริ่มต้นของการบริหารจัดการขยะภายในชุมชนเกิดขึ้นเมื่อ 2-3 ปีก่อน ชาวบ้านที่อยู่อาศัยในชุมชนมาช่วยกันคิดว่า จะนำขยะที่มีอยู่มาทำอะไรให้เป็นประโยชน์ได้บ้าง ทางเทศบาลจึงได้ส่งชาวบ้านให้ไปศึกษาดูงานหลายๆ ที่ กลับมาจึงได้แนวคิดและตกผลึกออกมาเป็น โครงการธนาคารคัดแยกขยะรีไซเคิล โดยคณะกรรมการมีกติกาว่า ชาวบ้านที่เป็นสมาชิกของโครงการ จะต้องนำขยะมาฝากตามที่กำหนด เพื่อรักษาความเป็นสมาชิกไว้ ส่วนเงินที่ได้จากการเอาขยะมาฝากไว้ ทุกคนมีมติเป็นเอกฉันท์ให้เอาไว้ดูแลเรื่องของฌาปณกิจ และจัดสรรในเรื่องของสวัสดิการ ทุนการศึกษา ค่ารักษาพยาบาล โดยขยะที่ได้ทำการคัดแยกจากครัวเรือนมาถึงพี่เปิ้ล มีประมาณ 2.5 ตันต่อเดือน นำเข้าโครงการฯ และจัดการจนทำให้ปริมาณขยะลดลงไป”      

หลังจากนั้น เมื่อโครงการธนาคารคัดแยกขยะฯ ดำเนินการมาได้ระยะเวลาหนึ่ง ประกอบกับทางบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ได้สร้าง “YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม” ซึ่งเป็นระบบจัดการพลาสติกใช้แล้วแบบครบวงจรขึ้น ตั้งแต่การรวบรวมและคัดแยกขยะ การขนส่งขยะพลาสติกเข้าสู่ระบบกระบวนการรีไซเคิล และกระบวนการแปรรูปจนได้กลับมาเป็นสินค้าอัพไซคลิง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าเพิ่มอีกครั้งหนึ่ง ตอบสนองการดำเนินชีวิตของผู้คนและส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมการรีไซเคิล รวมถึงสร้างระบบการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืน GC เล็งเห็นว่าแพลตฟอร์มนี้น่าจะมีประโยชน์กับชุมชนแห่งนี้ จึงได้เข้ามาเป็นพลังเสริม ในการช่วยพัฒนาการบริหารจัดการขยะของชุมชนให้ครบวงจร เช่น การบันทึกข้อมูลขยะขาเข้าจากแหล่งต่างๆ การจัดการด้านบัญชีการเงิน ข้อมูลขยะในคลัง จนถึงการจัดการด้านการขายพลาสติก (ประเภท PET และ HDPE) ให้กับโรงงาน ENVICCO ของ GC ซึ่งเป็นโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิลระดับ Food Grade มาตรฐานยุโรปแห่งแรกของประเทศไทย ช่วยบริหารจัดการด้านการขนส่ง (Logistics) ด้วยการวางแผนการขนส่งให้มีต้นทุนที่ถูกที่สุดอีกด้วย ในที่สุดความร่วมมือระหว่าง วิสาหกิจชุมชนธนาคารคัดแยกขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า GC และ ENVICCO จึงทำให้ ศูนย์บริหารและจัดการขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า เกิดขึ้นเมื่อเดือนธันวาคม ปีที่ผ่านมา ซึ่งคาดว่าจะช่วยบริหารจัดการขยะของชุมชนได้ถึง 10 ตันต่อเดือน นับว่าศูนย์ฯ นี้เป็นต้นแบบการบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจรจากต้นทางถึงปลายทางแห่งแรกในจังหวัดระยอง  

ศูนย์บริหารและจัดการขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า เป็นศูนย์การเรียนรู้และบริหารจัดการขยะอย่างครบวงจร โดยดึงการมีส่วนร่วมของคนที่อยู่ในชุมชนมาช่วยกัน และสามารถนำรายได้ส่วนหนึ่งกลับมาสนับสนุนชุมชน เป็นการสร้างงานสร้างอาชีพให้คนในชุมชน ในส่วนของชุมชน ก็ช่วยลดปัญหาขยะ ช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ทำให้ขยะถูกจัดการอย่างถูกต้อง นำกลับมาเพิ่มคุณค่าได้ ซึ่งข้อดีมาก ๆ ของการเป็นศูนย์การเรียนรู้อีกข้อหนึ่ง คือ จะทำให้คนที่ได้มาเรียนรู้ สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับชุมชนของตัวเอง ถือเป็นการขยายผลการบริหารจัดการขยะอย่างยั่งยืนที่แท้จริง ซึ่งตรงกับความต้องการของชุมชน

“พี่อยากให้ศูนย์นี้เป็นศูนย์ที่ให้ชาวบ้านเข้ามาเรียนรู้ เข้ามาเห็นว่า วันนี้ชุมชนกำลังทำอะไรอยู่ เมื่อเห็นแล้วก็อยากจะให้ทุกคนมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะร่วมมือกับสิ่งที่ชุมชนได้สร้างขึ้นมา ชุมชนวัดชากลูกหญ้าก็ขอฝากถึงพี่น้องชาวระยอง ใครที่มีเคมีตรงกับเรา อยากเดินทางร่วมโครงการนี้ไปกับเรา ท่านสามารถเข้ามาร่วมเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันได้ มาช่วยกันสานต่อโครงการนี้ให้ยั่งยืนและแข็งแรง เพื่อสิ่งแวดล้อมของชาวระยอง เราก็จะพยายามสร้างศูนย์ฯ แห่งนี้ให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ให้กับชุมชน เพื่อน ๆ โดยรอบ นักเรียน เด็กรุ่นใหม่ๆ เพราะว่าอย่างน้อยสิ่งที่ทางผู้ประกอบการ GC , ENVICCO และหน่วยงานต่างๆ ที่เข้ามาร่วมมือมาช่วยกัน ก็ทำให้เรามีพลังที่จะทำให้โครงการนี้ยั่งยืนตลอดไป” พี่เปิ้ลกล่าวทิ้งท้ายด้วยแววตามุ่งมั่น



จากที่ได้พูดคุยกับพี่เปิ้ล ประธานวิสาหกิจชุมชน ธนาคารคัดแยกขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้าในวันนี้ ทำให้เรากลับออกมาจากชุมชนด้วยความอิ่มเอมใจ พลังความมุ่งมั่นและเอาจริงเอาจังของชาวบ้านชุมชนวัดชากลูกหญ้าที่มีทั้งความสำนึกรักบ้านเกิด ความต้องการที่จะเห็นสิ่งแวดล้อมที่ดีเกิดขึ้นในชุมชนของตัวเอง และยังเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่น จนทำให้วันนี้ ชุมชนของพวกเขากลายเป็นชุมชนเข้มแข็ง เป็นต้นแบบของศูนย์การเรียนรู้แห่งแรกที่ครบวงจร สามารถแบ่งปันองค์ความรู้ให้ชุมชนใดก็ตามที่สนใจ นำไปต่อยอดปรับใช้ และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน เราหวังว่า ใครก็ตามที่ได้อ่านเรื่องราวในวันนี้คงจะได้รับแรงบันดาลใจไม่มากก็น้อย ในการเริ่มต้นทำสิ่งดี ๆ เพื่อถิ่นที่อยู่ของเรากันนะคะ

—————————————————–

*ศูนย์บริหารและจัดการขยะรีไซเคิล ชุมชนวัดชากลูกหญ้า เป็นหนึ่งในโครงการของชุมชนเข้มแข็ง ซึ่งมาจากแนวคิดของ GC ที่มีความเชื่อว่า การพัฒนาความยั่งยืน คือ การสร้างความสมดุลระหว่าง เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดการพัฒนาโดยเชื่อมโยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งหมด นวัตกรรมและเทคโนโลยี ความชำนาญ ประสบการณ์ แนวทางการบริหารจัดการ และองค์ความรู้ด้านต่าง ๆ นับเป็นการเสริมสร้างให้ชุมชนมีความเข้มแข็งและพัฒนาชุมชนให้สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน

—————————————————–

GC เขาฝากมาบอก : หากชุมชนใดในประเทศนี้ สนใจอยากเปลี่ยนแปลงชุมชนของตัวเองให้ดีขึ้นกว่าเดิม                ด้วยการบริหารจัดการขยะจาก YOUเทิร์น แพลตฟอร์ม สามารถแจ้งความประสงค์ของท่านมาได้ที่ : youturn@pttgcgroup.com เราพร้อมที่จะเป็นพลังเสริมเล็กๆ ให้ทุกคนนะ : )

ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19สูงถึง 2 พันราย

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้มีการรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 สะสมของประเทศไทย ประจำวันที่ 23 เมษายน 2564 มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,070 ถึอว่ามีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด 19 ในประเทศที่สูง


       โดยพบมีผู้ติดเชื้อจากต่างประเทศ 8 ราย เป็นผู้ติดเชื้อในประเทศ 2,062 ราย ตรวจพบจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 1,902 ราย จากการทำงานเชิงรุก สถานที่เสี่ยง 160 ราย มีผู้ป่วย ผู้ติดเชื้อสะสม จำนวน 50,183 ราย และมีผู้ที่หายป่วยกลับบ้านได้รวม 30,189 ราย กำลังรักษาตัว 19,873 ราย รักษาในโรงพยาบาล 15,642 ราย แยกกักตัวในรพ.สนาม 4,231 ราย และ มีผู้เสียชีวิต จำนวน 4 รายอีกด้วย..