โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 สนับสนุนประเพณีบุญข้าวหลามชาวมาบตาพุด
เปิดตำนานการเผาข้าวหลามแบบโบราณ ชุมชนหาดสุชาดา
โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะที่ 3 โดย บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด (GMTP) โดย นายศุภฤกษ์ โสภณราพงษ์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายชุมชนสัมพันธ์ และ นายสมชาย พงษ์เทพิน ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายประชาสัมพันธ์ สนับสนุนประเพณีบุญข้าวหลาม ของชุมชนหาดสุชาดาและกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้านหาดสุชาดา ซึ่งเป็นประเพณีสำคัญสืบทอดมาแต่โบราณ จะจัดขึ้นในวันขึ้น 14 ค่ำเดือน 3 ของทุกปี ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 15 ก.พ.2565 และชาวชุมชนจะร่วมใจกันมาช่วยกันเผาข้าวหลามเพื่อที่จะนำข้าวหลามไปทำบุญในวันรุ่งขึ้น คือวันขึ้น 15 ค่ำเดือน 3 เป็นวันพระใหญ่ “วันมาฆบูชา” ซึ่งเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ในครั้งอดีตกาลมีเหตุการณ์อัศจรรย์ที่พระสงฆ์ 1,250 รูป มาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคฤห์ การแสดงโอวาทปาติโมกข์ ซึ่งกล่าวโดยสรุป คือ การพึงปฏิบัติละความชั่วทุกชนิดทำความดีและทำจิตใจให้ผ่องใส จึงเป็นวันที่สำคัญยิ่งวันหนึ่งของพุทธศาสนา และกิจกรรมประเพณีเผาข้าวหลามในวันนี้มีผู้นำชุมชน ชาวบ้านและหน่วยงานที่สนับสนุนเข้าร่วมจำนวนมาก มีการอนุรักษ์สืบทอดต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
สำหรับประเพณี บุญข้าวหลาม และ การเผาข้าวหลาม จากการถ่ายทอดเรื่องราวความรู้จากผู้นำชุมชน กรรมการชุมชน ชาวชุมชนที่ร่วมจัดกิจกรรม ได้แก่ นายลำเพย แว่วเสียง ประธานชุมชนหาดสุชาดา และประธานกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้านหาดสุชาดา พร้อมด้วย นางศรัญญา แก่นสาร รองประธานชุมชนหาดสุชาดา นางสะอาด สุขเจริญ และ นางอุบล พืชพันธุ์ กรรมการชุมชนและสมาชิกในชุมชน เป็นต้น เรื่องราวนี้เป็นการเปิดตำนานประเพณีประจำถิ่นและที่สำคัญรูปแบบวิธีการการเผาข้าวหลามเป็นกรรมวิธีแบบโบราณทุกขั้นตอน มีรายละเอียด สำคัญดังนี้ การเผาข้าวหลามของชาวชุมชนหาดสุชาดา ขั้นตอนแรกๆ ต้องเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์ วัตถุดิบการทำข้าวหลามได้แก่ ข้าวสารเหนียว มักใช้ข้าวพันธุ์เขี้ยวงูเป็นข้าวพันธุ์พื้นเมืองที่เป็นข้าวใหม่เพราะจะหอมและเมล็ดข้าวเมื่อสุกจะนุ่มนิ่มน่ารับประทาน ข้าวสารเหนียวจะต้องมีการแช่เพื่อให้ข้าวพองตัวไม่แข็งเกินไปนิ่มพอประมาณแช่ไว้นาน 2-6 โมง และ เตรียมกะทิ เกลือป่น และถั่วดำ วิธีการคือ การกวนส่วนผสมให้เข้ากัน การคัดเลือกไม้ไผ่ คัดเลือกกระบอกไม้ไผ่ จะตัดเป็นท่อนๆยาว ประมาณ 1 ศอก เป็นป้องป้องมีการคัดเลือกจากลำไม้จากปลายท่อนไผ่ลงมาหาด้านโคนของลำไม้ไผ่ ทั้งนี้ป้องด้านโคนเปลือกมีความหนามากกว่าแก่กว่าและถ้าแก่เกินไปเปลือกจะหนามากเกินไปจะทำการเผาสุกได้ยากไม่ทั่วถึงมักคัดทิ้งไม่นิยมใช้กัน ขั้นตอนต่อมาเมื่อส่วนผสมพร้อมนำข้าวกรอกใส่กระบอกไม้ไผ่ที่เตรียมไว้แล้ว
จะขนไปฝังดินเตรียมเผาซึ่งจะมีการนำกะทิที่ปรุงแล้วไปหยอดในกระบอกไม้ไผ่ที่ใส่ข้าวเหนียวและถั่วดำอยู่แล้ว (ซึ่งบางอันก็ไม่ได้ใส่ถั่วดำตามความชอบ) มาถึงขั้นตอนการเผา จะมีการจัดเตรียมพื้นที่เป็นแนวยาวเพื่อฝังท่อนไม้ไผ่ที่จะเผาเรียงเป็นแถวตามแนวยาว อาจเป็น 2 แถวหรือ 3 แถว ตามสะดวก ด้านข้างจะเว้นระยะห่างประมาณข้างละ 70 เซ็นติเมตร ไม่ได้เผาไปที่ตัวกระบอกไม้ไผ่หรือใกล้เกินไปเพราะอุณหภูมิสูงร้อนเกินไปจะไหม้ได้ หลังจากนั้นจะก่อไฟบริเวณกองฟืนที่วางไว้ให้ทั่วตลอดแนวเพื่อให้ไอความร้อนส่งไอความร้อนไปที่กระบอกข้าวหลามจนร้อนระอุค่อยๆสุกทีละน้อยต้องคอยสังเกตข้าวจะพองตัวไอความร้อนและมีไอระเหยขึ้นมาควรให้เป็นไฟปานกลางจะพอดี การเผาจึงใช้เวลาถึง 3-5 ชั่วโมงเลยทีเดียว และ ต้องคอยดูไปให้ไหม้ฟืนอย่างสม่ำเสมอและคอยเขี่ยฟืนที่ไหม้แล้วไฟอ่อนลงให้ชิดใกล้กระบอกข้าวหลามมากขึ้นให้ระดับความร้อนที่พอเหมาะพอดีทำให้ข้าวหลามสุกไปเรื่อยๆจะได้ที่นุ่มหอมกรุ่นพอดี สังเกตที่กะทิบริเวณหัวข้องข้าวหลามจะแห้งไม่เยิ้มหรือเป็นน้ำใสๆจะข้นเหนียวแห้งเป็นอันใช้ได้จะได้ข้าวหลามที่หอมอร่อย ตามการเผาแบบโบราณที่เป็นภูมิปัญญาสืบทอดกันมาเป็นตำนานเผาข้าวหลามสูตรโบราณที่ชาวหาดสุชาดาที่ยังอนุรักษ์ไว้อย่างภาคภูมิใจ จากนั้นลำดับต่อไปเป็นการเตรียมนำข้าวหลามไปทำบุญในวันพรุ่งนี้ 15 ค่ำเดือน 3 วันมาฆบูชา ชาวชุมชนจะไปทำบุญร่วมกันทั้งชุมชนรวมทั้งชุมชนใกล้เคียง เป็นการร่วมแรงร่วมใจของชาวชุมชนก่อเกิดความรักความสามัคคีในชุมชนและส่งเสริมสืบทอดประเพณีอันดีงามของบรรพบุรุษและส่งเสริมพระพุทธศาสนาเชื่อมโยงคุณธรรมพัฒนาจิตใจชาวชุมชน สร้างสรรค์ชุมชนให้อบอุ่นร่มเย็นเป็นวิถีของชุมชน ชาวหาดสุชาดาสืบต่อมาเป็นตำนานของชุมชนในพื้นที่มาบตาพุดอีกหลายชุมชนที่มีประเพณีนี้เช่นเดียวกัน…