maydawin

BST ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการขับเคลื่อนสู่ Net Zero EEC

BST ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการขับเคลื่อนสู่ Net Zero EEC


เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2566 ที่ผ่านมา คุณชาตรี ชื่นชมสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด หรือ
BST เป็นผู้แทน เข้าร่วมงานสัมมนาเปิดตัวโครงการและพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ของโครงการ
ขับเคลื่อนสู่ Net Zero EEC (Eastern Economic Corridor) เพื่อสนับสนุนการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสภาพภูมิอากาศ
เพื่อระบบซื้อขายสิทธิในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในพื้นที่ EEC ประจำปี
งบประมาณ 2566 และเตรียมความพร้อมในการชดเชยคาร์บอน และบริหารจัดการสู่การพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน นำไปสู่การลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero emissions ) ระหว่าง สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย พร้อมด้วยองค์กรอุตสาหกรรมนำร่องที่เข้าร่วมโครงการปี 2566 จำนวน 12 องค์กร ณ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
#BST #NetZeroEEC

THE LIGHTER THAILAND

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ผนึกกำลังภาคีชุมชนชายฝั่ง 3 จังหวัดภาคตะวันออก สร้างจิตสำนึก รักษ์ป่าชายเลน

โรงไฟฟ้าบีแอลซีพี ผนึกกำลังภาคีชุมชนชายฝั่ง 3 จังหวัดภาคตะวันออก สร้างจิตสำนึก รักษ์ป่าชายเลน

21 เมษายน 2566 – บริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด หนึ่งในภาคีชุมชนชายฝั่ง เข้าร่วมงานและร่วมจัดบูธนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับโรงไฟฟ้าและความร่วมมือการทำกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่ป่าชายเลน ตามแนวทางการดำเนินงานอย่างยั่งยืน ภายใต้กรอบแนวคิด ESG (Environment (สิ่งแวดล้อม), Social (สังคม), Governance (ธรรมาภิบาล)) ในงานการประชุมโครงการประชุมเครือข่ายภาคีชุมชนชายฝั่ง อาสาสมัครพิทักษ์ทะเล(อสทล.)
และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ณ ห้องสร้อยเพชร 2 โรงแรมโกลเด้น ซิตี้ ระยอง จ.ระยอง

โดยมีนางดาวรุ่ง ใจจริง ผอ.กองอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลน กรมทช. ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุม ร่วมด้วย นายณัฐ โก่งเกสร ผอ.ทสจ.ระยอง นายภุชงค์  สฤษฎีชัยกุล ผอ. สทช.1 หัวหน้าส่วนงานที่เกี่ยวข้อง หัวหน้าส่วนงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จนท.อาสาสมัครพิทักษ์ทะเลจังหวัดระยอง จันทบุรี และตราด เข้าร่วมโครงการ 150 คน จัดโดยส่วนส่งเสริมและประสานงานเครือข่ายทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งสำนักงานทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งที่ 1

THE LIGHTER THAILAND

ประธานและคณะกรรมการชุมชนในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด จัดพิธีเปิดการแข่งขันโครงการฟุตบอลประเพณีมาบตาพุด ครั้งที่ 41  ประจำปี 2566

กลุ่ม ปตท.จังหวัดระยอง ร่วมกับ เทศบาลเมืองมาบตาพุด ประธานและคณะกรรมการชุมชนในเขตเทศบาลเมืองมาบตาพุด จัดพิธีเปิดการแข่งขันโครงการฟุตบอลประเพณีมาบตาพุด ครั้งที่ 41  ประจำปี 2566

วันที่ 20 เมษายน 2566  นายถวิล โพธิบัวทอง นายกเทศมนตรีเมืองมาบตาพุด และ นางสาวเชาวนี พันธุ์พฤกษ์ ประธานอนุกรรมการชุมชนสัมพันธ์และการสื่อความ กลุ่ม ปตท. จังหวัดระยอง พร้อมด้วยผู้บริหารจากกลุ่ม ปตท. และ เทศบาลเมืองมาบตาพุด เข้าร่วมในพิธีเปิดการแข่งขันฟุตบอลประเพณีมาบตาพุด ครั้งที่ 41 ประจำปี 2566 ณ สนามฟุตบอล สวนสุขภาพ กลุ่ม ปตท. เพื่อชุมชน โดยการจัดการแข่งขันดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้เยาวชนในจังหวัดระยองห่างไกลยาเสพติด ช่วยพัฒนาทักษะการเล่นฟุตบอล ยกระดับมาตรฐานการแข่งขัน และสร้างโอกาสในการเล่นฟุตบอลระดับอาชีพให้นักฟุตบอลอีกด้วย

โดยการแข่งขันจะเริ่มต้นจากการจับสายการแข่งขันในวันที่ 27 เมษายน 2566 และ เริ่มการแข่งขันใน วันที่ 8 พฤษภาคม 2566 เป็นต้นไป ทีมที่ชนะเลิศจะได้รับถ้วยรางวัลพร้อมเงินรางวัล 50,000.- บาท และเหรียญรางวัล นอกจากนี้ยังมีรางวัลมารยาทยอดเยี่ยม และ ผู้ทำประตูสูงสุดด้วย

กลุ่ม ปตท. จังหวัดระยอง

THE LIGHTER THAILAND

โครงการท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 ร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ กลุ่มประมงพลา-อู่ตะเภาสามัคคี

โครงการท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 ร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ กลุ่มประมงพลา-อู่ตะเภาสามัคคี

วันที่ 28 มีนาคม 2566 โครงการท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 ประกอบด้วย บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด (GMTP) สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (สทร.) บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ITD) กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ (PMSC) นำพนักงานอาสาร่วมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรทางทะเล ปี 2566 และ ทำความสะอาดชายหาด ณ กลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้านพลา-อู่ตะเภาสามัคคี กิจกรรมนี้ได้รับเกียรติจาก นายสมหวัง เหลือล้น นายกเทศมนตรีตำบลพลา เป็นประธานกล่าวเปิดงาน กลุ่มประมงจัดงาน นำโดย นาย วิเชษฐ์ หมายมั่น ประธานกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้าน พลา-อู่ตะเภาสามัคคี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่ออนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำและเป็นการเพิ่มปริมาณสัตว์ทะเล ในกิจกรรมครั้งนี้ ยังมีกิจกรรมให้ความรู้เกี่ยวกับการอนุรักษ์และการปล่อย พันธุ์ปูม้า ปลากระพง ฯลฯ โดย นายไพรัตน์ เจี๊ยะรัตน์ เจ้าพนักงานประมงอาวุโสหัวหน้ากลุ่มบริหารจัดการด้านการประมง กิจกรรมนี้มี คณะกรรมการกลุ่มประมงเรือเล็กพื้นบ้าน พลา-อู่ตะเภาสามัคคี ฯ สมาชิก หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และ ภาคโรงงานอุตสาหกรรมร่วมกิจกรรมจำนวนมาก

THE LIGHTER THAILAND

มูลนิธิกองทุนฯ ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 มอบเงินแก่ชุมชน เยียวยาประมงพื้นบ้าน 79 ล้านบาท และ พัฒนาชุมชน 30.9 ล้านบาท

มูลนิธิกองทุนฯ ท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 มอบเงินแก่ชุมชนเยียวยาประมงพื้นบ้าน 79 ล้านบาท และ พัฒนาชุมชน 30.9 ล้านบาท

วันที่ 27 มีนาคม 2566 ณ สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (สทร) มูลนิธิกองทุนหลักประกันความเสียหายฉุกเฉินและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน โดย ดร.วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ในฐานะประธานมูลนิธิฯ ทำพิธีมอบเงินชดเชยเยียวยาให้แก่ผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านที่ได้รับผลกระทบจาก โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ ที่ 3 ซึ่งมี นายพรเทพ ภูริพัฒน์ รองผู้ว่าการ กนอ. นายคณพศ ขุนทอง ผู้ช่วยผู้ว่าการ กนอ. นายอนุชิต สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (สทร) นายวิเชียร ทองด้วง อุตสาหกรรมจังหวัดระยอง พร้อมด้วย ผู้นำชุมชน และ ประธานกลุ่มประมง คณะกรรมการและสมาชิก รวมทั้งสื่อมวลชนในจังหวัดระยองทุกแขนง เข้าร่วมในพิธีมอบงบประมาณและเป็นสักขีพยาน ในกิจกรรมครั้งนี้


สำหรับพิธีมอบงบประมาณวันนี้ ได้แก่ การมอบเงินชดเชยเยียวยาให้แก่ผู้ประกอบอาชีพประมงพื้นบ้านที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ ที่ 3 แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มประมงฯที่อยู่ใน EHIA จำนวน 382 ราย จำนวนเงิน 38,200,000 บาท และ กลุ่มประมงฯนอก EHIA จำนวน 408 ราย จำนวนเงิน 40,800,000 บาท รวมจ่ายเงินชดเชยเยียวยาฯ ทั้งสิ้น 79 ล้านบาท (ณ วันที่ 27 มีนาคม 2566)


พิธีมอบในส่วนที่ 2 ได้แก่ การมอบเงินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชน อีก 12 ชุมชน รอบๆ โครงการท่าเรือมาบตาพุด ระยะ ที่ 3 มีจำนวน 13 โครงการฯ มูลนิธิฯได้ส่งมอบเงินรวมทั้งสิ้น 30.9 ล้านบาท ให้แก่ ชุมชน หนองแฟบ ชุมชนหนองน้ำเย็น ชุมชน มาบชลูด – ชากกลาง ชุมชน มาบชลูด ชุมชนกรอกยายชา ชุมชนหนองแตงเม ชุมชนซอยประปา ชุมชนซอยร่วมพัฒนา ชุมชนวัดโสภณ ชุมชนตากวน-อ่าวประดู่ ชุมชน หมู่ 4 ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง ฯ ชุมชนหมู่ 2 ต.บ้านฉาง อ.บ้านฉาง จ.ระยอง โดยมีประธานชุมชนและกรรมการเป็นผู้รับมอบ ซึ่งโครงการต่างๆ ได้เกิดจากคณะกรรมการชุมชนและสมาชิกชุมชน ได้ร่วมกันคิดวิเคราะห์สภาพปัญหาและความต้องการของชุมชน จัดทำโครงการพัฒนาชุมชน เสนอต่อมูลนิธิฯ กองทุนฯ มีการพิจารณากลั่นกรองของคณะกรรมการมูลนิธิฯที่มาจากชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณา ทั้งนี้ให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของกองทุนฯ และ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตส่วนรวมของชาวชุมชน

………………………………………………………………………………………………………………………………..

THE LIGHTER THAILAND

BST ลงนาม MOU โครงการ “ท อ ด ไ ม่ ทิ้ ง” ทำง่ายๆ ที่บ้าน ผลักดันสุขภาวะที่ดี รักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

BST ลงนาม MOU โครงการ “ท อ ด ไ ม่ ทิ้ ง” ทำง่ายๆ ที่บ้าน ผลักดันสุขภาวะที่ดี รักษาสิ่งแวดล้อมในชุมชน

โครงการ “ท อ ด ไ ม่ ทิ้ ง” เป็นการจัดการน้ำมันใช้แล้วในครัวเรือน เกิดจากความร่วมมือส่งเสริมแนวทางการจัดการสุขภาวะ รักษาสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมเศรษฐกิจในชุมชน โดยนำน้ำมันที่ใช้แล้วเสื่อมสภาพกลับไปใช้ประโยชน์ได้สูงสุด เพื่อแก้ปัญหาที่มีต่อสุขภาวะร่างกายของการบริโภค และลดปัญหาแหล่งน้ำถูกปนเปื้อนด้วยคราบไขมันลอยบนผิวน้ำ ซึ่งส่งผลต่อปริมาณออกซิเจนในน้ำ และส่งผลให้ไขมันอุดตันในท่อระบายน้ำสาธารณะ อันเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาน้ำท่วม อย่างเป็นระบบและครบวงจร โดยบริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด และบริษัทในเครือ ได้จัดได้พิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) โครงการ “ท อ ด ไ ม่ ทิ้ ง” อย่างมีระบบ ร่วมกับ ภาคีเครือข่ายรักษ์สิ่งแวดล้อม และชุมชนในเขตมาบตาพุด บ้านฉาง ในจังหวัดระยอง เพื่อรณรงค์ให้ชุมชน “ไม่เททิ้ง” น้ำมันปรุงอาหารใช้แล้วสู่พื้นที่สาธารณะ ป้องกันปัญหาจากการทิ้งของเสียอย่างไม่ถูกวิธีที่จะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาวะ และสิ่งแวดล้อม และ “ไม่ทอดซ้ำ” ซึ่งส่งผลเสียต่อสุขภาพ จากการเสื่อมสภาพของน้ำมันและเปลี่ยนเป็นสารประกอบที่อันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ในวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 ณ ห้องประชุม Success Together บริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด

โครงการ “ท อ ด ไม่ ทิ้ ง” เป็นความร่วมมือกันขององค์กรที่มุ่งมั่น สนับสนุนการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการสร้างมูลค่า จากแนวคิดเศรษฐกิจ หมุนเวียน หรือ Circular Economy และสอดคล้องกับหลัก ESG (Environmental, Social, Governance) ซึ่งนอกจากผลดีในเรื่องของสุขภาวะ และสิ่งแวดล้อมที่ดีแล้ว ยังช่วยสร้างรายได้ให้กับชุมชน โดยการนำเอาน้ำมันใช้แล้วในครัวเรือนมาขายเป็นเงินเพื่อสร้างมูลค่า และกลับไปปรับปรุงคุณภาพ และนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนไบโอดีเซล ได้อีกครั้ง (โดยหลัก 4ก “เก็บ กรอง กรอก กลับ”) โดยได้เริ่มดำเนินการแล้ว จำนวน 33 ชุมชน ในเขตพื้นที่มาบตาพุด และบ้านฉาง โดย BST ได้ตั้งเป้าหมายเก็บรวบรวมน้ำมันใช้แล้วในครัวเรือน จำนวน 1,000 ลิตร/ชุมชน/ปี โดยมีแผนจะขยายผลไปยังพื้นที่ต่างๆ ต่อไปในอนาคต เพื่อลดอันตรายจากน้ำมันทอดซ้ำ และปัญหาแหล่งน้ำปนเปื้อน เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพวะชุมชน และสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน ตามปณิธานขององค์กร คือ “BST มุ่งมั่นความปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม พร้อมอยู่คู่ชุมชน”

วิธีการคัดแยกจากต้นทาง ให้ถูกวิธี (หลัก 4ก “เก็บ กรอง กรอก กลับ”)
1. เก็บ (รอให้น้ำมันเย็นก่อนแล้วจึงเทใส่ภาชนะจัดเก็บ)
2. กรอง (กรองกากอาหาร เศษผงจากการทอดโดยใช้ที่กรอง ให้เหลือแต่น้ำมัน)
3. กรอก (นำน้ำมันบรรจุกรอกใส่ขวดหรือใส่ภาชนะที่สะอาด)
4. กลับ (น้ำมันนี้จะส่งกลับไปปรับปรุงคุณภาพ และนำมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนไบโอดีเซล

THE LIGHTER THAILAND

ผู้ว่าฯระยอง สั่งโรงงานรับผงฝุ่นเหล็กซีเซียม-137 ส่งกลับต้นทางโรงงานที่ปราจีนบุรีภายใน 3 วัน แม้เจ้าหน้าที่จะตรวจหาค่าไม่เกินมาตรฐาน

ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง สั่งโรงงานรับผงฝุ่นเหล็กซีเซียม-137 ส่งกลับต้นทางโรงงานที่ปราจีนบุรีภายใน 3 วัน แม้เจ้าหน้าที่จะตรวจหาค่าไม่เกินมาตรฐาน
.
เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 20 มี.ค.66 นายไตรภพ วงศ์ไตรรัตน์ ผวจ.ระยอง พร้อมด้วยนายวิเชียร ทองด้วง อุตสาหกรรมจังหวัดระยอง นายอัธยา นวลอุทัย หัวหน้า ปภ.ระยอง เจ้าหน้าที่ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดระยอง นายอิทธิ แจ่มแจ้ง ประธานชุมชนหนองแฟบ และหน่วยงานท้องถิ่นร่วมลงพื้นที่ตรวจสอบ บริษัท เอ็น เอฟ เอ็ม อาร์ จำกัด ต.หนองแฟบ อ.เมืองระยอง จ.ระยอง หลังรับผงฝุ่นเหล็กมาจากโรงงานแห่งหนึ่งใน จ.ปราจีนบุรี

โดยมีสารซีเซียม-137 ปนเปื้อน เก็บไว้ที่โกดังของโรงงาน ตรวจสอบพบเป็นผงฝุ่นเหล็ก บรรจุอยู่ถุงบิ๊กแบ็ก จำนวน 16 ถุง รวม 12.4 ตัน ซึ่งโรงงานดังกล่าว มีการขออนุญาตนำกากอุตสาหกรรมออกมานอกโรงงานอย่างถูกต้อง โดยช่วงเช้า เมื่อเวลา 10.00 น. ที่ผ่านมาเจ้าหน้าที่จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง กรมโรงงานอุตสาหกรรม ศูนย์วิจัยและเตือนภัยมลพิษโรงงานภาคตะวันออก สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดระยอง ได้ลงพื้นที่ตรวจสอบหาค่ารังสีจากซีเซียม-137 ภายในบริเวณโรงงานทั้งหมด ไม่พบค่าเกินเกณฑ์มาตรฐาน 0.15 ไมโครซีเวิร์ต/ชั่วโมง แต่อย่างใด


นายไตรภพ กล่าวว่า เบื้องต้นได้สั่งการให้โรงงานหยุดดำเนินการชั่วคราว พร้อมให้ขนย้ายฝุ่นเหล็กดังกล่าวกลับไปยังโรงงานต้นทางที่รับมา โดยมอบหมายให้อุตสาหกรรมจังหวัดระยอง ประสานไปยังสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดปราจีนบุรี ในการขนย้ายฝุ่นเหล็กดังกล่าวกลับบริษัทต้นทาง

โดยให้ดำเนินการขนย้ายภายใน 3 วัน ส่วนสำนักสาธารณสุขจังหวัดระยอง ได้มอบให้เฝ้าระวังประชาชนที่อาจไปสัมผัสสารซีเซียม-137 ทั้งประชาชนในพื้นที่และคนงานของโรงงานที่ระยอง และปราจีนบุรีที่เดินทางเข้ามาในพื้นที่ หากพบความผิดปกติ ให้โทรด่วนสาย 1669 โดย รพ.ระยอง จะเป็นศูนย์ดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ระยอง

Cr.ประชาสัมพันธ์จังหวัดระยอง

THE LIGHTER THAILAND

จิรัฏฐ์นนท์  ฐิตะสิริ/รายงาน

สนง.คุมประพฤติจังหวัดระยองจัดประชุม อ.ส.ค. สัญจรเขตพื้นที่ 1 ครั้งที่ 2/2566

สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดระยองจัดประชุมอาสาสมัครคุมประพฤติสัญจรเขตพื้นที่ 1 ครั้งที่ 2/2566

เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม โดย นางนภารัตน์ ตันยะบุตร พนักงานคุมประพฤติชำนาญการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่กลุ่มคุมประพฤติเขตพื้นที่ 1 นายสุรศักดิ์ ทองศิริ ประธานอาสาสมัครคุมประพฤติอำเภอนิคมพัฒนา นายสมเกียรติ ตาละลักษมณ์ ประธานอาสาสมัครคุมประพฤติอำเภอบ้านฉาง พ.จ.อ.สิทธิโชค ฤกษ์ดี ประธานอาสาสมัครคุมประพฤติอำเภอปลวกแดง นายทวีศักดิ์ สาริกบุตร ประธานอาสาสมัครอำเภอบ้านค่าย และอาสาสมัครคุมประพฤติทั้ง 4 เขตพื้นที่ ร่วมกันจัดประชุมอาสาสมัครคุมประพฤติสัญจรเขตพื้นที่ 1 ครั้งที่ 2/2566 โดยมีอาสาสมัครคุมประพฤติ เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 21 คน

 

ซึ่งมีวาระการประชุมที่สำคัญ ได้แก่ การประชุมเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานคุมประพฤติ เเละสร้างความรับรู้เกี่ยวกับมาตรการป้องกันการทุจริตเเละประพฤติมิชอบ กระทรวงยุติธรรม ร่วมทั้งการหาเเนวทางป้องกันปัญหา เเละข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน ณ ศูนย์ประสานงานอาสาสมัครคุมประพฤติอำเภอนิคมพัฒนา(วัดมาบข่า) อำเภอนิคมพัฒนา จังหวัดระยอง จากนั้นร่วมกันจัดกิจกรรมทำงานบริการสังคม ทำความสะอาด ปรับภูมิทัศน์ บริเวณวัดมาบข่า โดยมีผู้ถูกคุมความประพฤติเข้าร่วมกิจกรรม19 คน และได้รับความอนุเคราะห์จาก บริษัท เซ้าท์ซิตี้ปิโตรเคม จำกัด มอบไม้กวาดให้แก่สำนักงานคุมประพฤติจังหวัดระยอง เพื่อใช้ในกิจกรรมบำเพ็ญสาธารณประโยชน์ต่อไป

THE LIGHTER THAILAND

อ.ส.ค.จิรัฏฐ์นนท์  ฐิตะสิริ

062-2524244

โครงการท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 ร่วมกับ ทต.เนินพระ พัฒนาสิ่งแวดล้อม “ วันท้องถิ่นไทย “ ปี 2566

โครงการท่าเรือมาบตาพุด เฟส 3 ร่วมกับ ทต.เนินพระ พัฒนาสิ่งแวดล้อม “ วันท้องถิ่นไทย “ ปี 2566


วันที่ 17 มีนาคม 2566 โครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ ที่ 3 ประกอบด้วย การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (สทร.) บริษัทกัลฟ์ เอ็มทีพี แอลเอ็นจี เทอร์มินอล จำกัด (GMTP) บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) (ITD) กลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ (PMSC) นำพนักงานอาสากว่า 50 คน ร่วมกิจกรรมวันท้องถิ่นไทย ทำความสะอาดชายหาดแสงจันทร์ และหาดสุชาดา อ.เมือง จ.ระยอง ซึ่งจัดขึ้นโดย เทศบาลตำบลเนินพระ นำโดย นายบุญธรรม ใยกล้า นายกเทศมนตรี ฯ และได้รับเกียรติจาก นายเรืองฤทธิ์ ประกอบธรรม นายอำเภอเมือง จ.ระยอง เป็นประธานในพิธี กิจกรรมในวันนี้ มีวัถตุประสงค์เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมพัฒนาชายหาดเก็บขยะและทำความสะอาดปรับภมิทัศน์ให้สวยงามน่าอยู่ ชายหาดแสงจันทร์และสุชาดา นับว่ามีความสำคัญเป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจและแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของเมืองระยอง

และเทศบาลฯได้จัดงานนี้เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ในหลวง รัชกาลที่ 5 ที่ได้ทรงสถาปนาจัดระบบการปกครองท้องถิ่นที่มีความสำคัญยิ่งต่อประชาชน ซึ่งทางรัฐบาลได้ประกาศให้ วันที่ 18 มีนาคม ของทุกปี เป็นวันท้องถิ่นไทย กิจกรรมในวันนี้ ทางโครงการโครงการพัฒนาท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด ระยะ ที่ 3 และ สำนักงานท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุด (สทร) นำพนักงานอาสามาร่วมกิจกรรมจำนวนมาก บรรยากาศเต็มไปด้วยความมุ่งมั่นร่วมไม้ร่วมมือกันเป็นอย่างดีเยี่ยม ทั้งนี้ เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมที่ดีของเมืองระยอง ซึ่งเป็นนโยบายและเจตนารมณ์ขององค์กร และร่วมดำเนินงานในกิจกรรมนี้กับเทศบาลตำบลทับมา มาโดยตลอดทุกปี

THE LIGHTER THAILAND

BST Group จัดกิจกรรมสานเสวนาชุมชน ประจำปี 2566 สร้างความเชื่อมั่น และการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

BST Group จัดกิจกรรมสานเสวนาชุมชน ประจำปี 2566 สร้างความเชื่อมั่น และการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 1-16 มีนาคม 2566 กลุ่ม บีเอสที ประกอบด้วย บริษัท กรุงเทพ ซินธิติกส์ จำกัด (BST) บริษัท บีเอสที อิลาสโตเมอร์ส จำกัด (BSTE) และบริษัท บีเอสที เอเนออส อิลาสโตเมอร์ จำกัด (BEE) พร้อมด้วยผู้บริหารและพนักงาน ได้จัดกิจกรรมสานเสวนาชุมชน ประจำปี 2566 ผ่านโครงการ BST Group พบชุมชน ครั้งที่ 1/2566 ซึ่งได้มีการลงพื้นที่เพื่อพบปะ พูดคุยกับพี่น้องชุมชน ในเขตพื้นที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด และเทศบาลตำบลบ้านฉาง รวม 29 ชุมชน และยังได้เปิดตัว โครงการ “ทอดไม่ทิ้ง” ซึ่งเป็นโครงการด้านสิ่งแวดล้อม ที่สร้างระบบจัดการน้ำมันใช้แล้วในครัวเรือน ในการนำกลับมาผลิตเป็นพลังงานทดแทนไบโอดีเซล มุ่งหวังเพื่อให้ชุมชนมีสุขภาวะและสิ่งแวดล้อมที่ดี

โดยกิจกรรมสานเสวนานี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อนำเสนอข้อมูลข่าวสาร การดำเนินงานในด้านต่างๆ ได้แก่ ข้อมูลทั่วไปของบริษัท ข้อมูลโครงการส่วนขยาย ข้อมูลด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ข้อมูลด้านทรัพยากรบุคคล และข้อมูลด้านกิจกรรมชุมชนสัมพันธ์ รวมถึงเป็นการเสริมสร้างความสัมพันธ์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น พร้อมทั้งรับฟังข้อเสนอ สร้างความเข้าใจ อันเป็นประโยชน์ในการสร้างความเชื่อมั่น และการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน

#BSTGroup #BST #BSTE #BEE #สานเสวนาชุมชน #ESG

THE LIGHTER THAILAND